KandoWriting บริการพัฒนาทักษะการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ

บริการของเรามีความโดดเด่นตรงที่เป็นบริการแบบตัวต่อตัว มีความยืดหยุ่นสูง จึงทำให้สามารถตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของผู้เรียนแต่ละคนได้อย่างเต็มที่

เริ่มต้นจากการแก้ไขความเข้าใจผิดด้านไวยากรณ์อย่างตรงจุด เสริมความรู้ด้านการใช้ศัพท์ให้หลากหลาย แนะนำการใช้ภาษาให้สละสลวย เหมาะสม และเป็นธรรมชาติ พัฒนาทักษะการเรียบเรียงความคิดให้อ่านเข้าใจง่าย ลื่นไหลด้วยการเรียงลำดับความที่เป็นเหตุเป็นผลต่อเนื่องกัน นำเสนอเนื้อหาหนักแน่นด้วยการใช้ตัวอย่างที่เหมาะสมพร้อมกับการแตกประเด็นความคิด รวมไปถึงการสรุปความที่กระชับแต่หนักแน่นและครอบคลุมใจความหลักได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์

ทักษะทางภาษานั้นจะพัฒนาขึ้นได้ก็ด้วยการฝึกฝนด้วยตัวเองเท่านั้น รูปแบบบริการของเราจึงเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะการเขียนด้วยตัวเองอย่างเต็มที่ โดยการเขียนงานเขียนขึ้นด้วยตัวเอง เรียนรู้ข้อบกพร่องในงานเขียนนั้น ทั้งในแง่การใช้คำ ไวยากรณ์ การเรียบเรียง ฝึกแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ ด้วยตัวเอง จนสามารถปรับปรุงงานเขียนให้เป็นงานเขียนที่สมบูรณ์ได้ โดย KandoWriting จะคอยช่วยอธิบาย แก้ไข แนะแนวทางให้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้ท่านพัฒนาทักษะการเขียนได้อย่างรวดเร็วและถูกทาง

3 ขั้นตอนสู่งานเขียนที่สมบูรณ์แบบ

เราเริ่มต้นโดยการให้ท่านเขียนงานเขียนด้วยตัวเอง เช่น ท่านอาจต้องการฝึกเขียนตอบ writing task ของ TOEFL หรือ IELTS แล้วส่งงานเขียนของท่านมาให้เราเพื่อประเมินว่างานเขียนของท่านเป็นอย่างไรบ้าง และท่านต้องการความช่วยเหลือด้านใดบ้าง และเราจะพิจารณาและแจกแจงให้ท่านเข้าใจทีละประเด็น ความต้องการของแต่ละท่านย่อมมีความแตกต่างกันไป แต่สามารถแบ่งได้เป็นสามส่วนหลัก ๆ ดังนี้

 

1

เรียนรู้ไวยากรณ์และการใช้คำศัพท์ที่ถูกต้อง ขั้นแรกสุดเราจะตรวจหาข้อบกพร่องในการใช้ไวยากรณ์ เครื่องหมายวรรคตอนและการใช้คำ ในงานเขียนของท่าน เราจะวิเคราะห์ว่าท่านไม่เข้าใจหรือเข้าใจเรื่องใดผิดบ้าง และอธิบายส่วนนั้น ๆ ให้ท่านเข้าใจอย่างละเอียด พร้อมยกตัวอย่างให้เห็นว่าต้องแก้เป็นอย่างไร ปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไรได้บ้าง

สิ่งที่พบได้บ่อยคือเมื่อเข้าใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งผิดแล้วก็จะเขียนผิดซ้ำ ๆ ลักษณะเดียวกันหลายจุด เราจะแก้บางจุดให้เป็นตัวอย่าง ส่วนที่ผิดเหมือนกันที่เหลือเราจะทำเป็นตัวอักษรสีแดงแล้วส่งกลับไปให้ท่านได้ฝึกแก้ไขงานเขียนของตนเอง พร้อมกับแก้ไขความเข้าใจผิดนั้น ๆ ไปในตัว

 

ตัวอย่างที่เห็นได้บ่อย เช่น

  • การใช้ tense ไม่สอดคล้องกัน เช่น เมื่อกำลังเล่าเรื่องในอดีต กลับมีการใช้ present tense ปะปนโดยผู้เขียนไม่ทันรู้ตัว: When I was a child, I loved to learn English and I write a lot of essays.

  • การใช้คำผิดเพราะทราบแต่ความหมาย แต่ไม่ทราบหน้าที่ของคำ (part of speech): I want to success that goal so I work diligently.

  • การใช้คำผิดเพราะไม่ทราบความหมายที่ถูกต้อง: Since I have many comic books, I start borrowing them to my friends.

 

2

เรียนรู้การลำดับความ การใช้คำเชื่อม การขึ้นต้น การดำเนินเรื่อง และการสรุป ในส่วนที่สองนี้เราจะประเมินว่างานเขียนของท่านอ่านแล้วเข้าใจง่ายหรือไม่ เนื้อหาต่อเนื่องสอดคล้องกันดีหรือไม่ การใช้เหตุผล การแตกประเด็น และการยกตัวอย่างช่วยสนับสนุนให้ผู้อ่านรู้สึกคล้อยตามได้หรือไม่ แต่ละย่อหน้ามีใจความหลักหนึ่งประเด็นหรือไม่ การขึ้นต้นมีความน่าสนใจหรือไม่ และสรุปได้อย่างกระชับรัดกุมหรือไม่

อีกทั้งเราจะแนะนำว่าท่านสามารถปรับปรุงงานเขียนของท่านได้อย่างไรบ้าง เราอาจเสนอให้ท่านตัดทอนเนื้อหาที่ไม่เกี่ยวกับเนื้อเรื่องออก เพิ่มตัวอย่างที่จะช่วยสนับสนุนแนวคิดของท่าน ปรับเปลี่ยนย่อหน้าเกริ่นให้น่าสนใจมากขึ้น และให้ท่านได้มีโอกาสลงมือปรับปรุงงานเขียนด้วยตัวท่านเองโดยมีเราช่วยประเมินพัฒนาการอย่างใกล้ชิด

 

ตัวอย่างคำแนะนำ เช่น

  • การใช้คำบอกลำดับเช่น first, second, then, later และ lastly ให้เนื้อหาดำเนินไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอน

  • การบอกความต่อเนื่อง ความแย้ง หรือความเป็นเหตุเป็นผล โดยการใช้คำเชื่อมรูปแบบต่าง ๆ เช่น moreover, furthermore, nevertheless, thus, hence, more importantly, in contrast with, on the one hand ... on the other hand, subsequently, consequently, ฯลฯ ที่เหมาะสมกับทั้งความหมายและหลักไวยากรณ์

  • การปรับปรุงย่อหน้าสรุป เพราะหลาย ๆ คนมีปัญหาว่าจะสรุปงานเขียนอย่างไรให้ได้ใจความครบถ้วนภายในไม่กี่ประโยค หลายคนใช้การตัดต่อเอาประโยคจากตัวเนื้อหามารวมกัน แต่การใช้คำหรือประโยคซ้ำเหมือนเดิมนั้นไม่เหมาะสม เราจะแนะนำท่านให้รู้จัก paraphrase ซึ่งก็คือการเขียนข้อความเดิมแต่ใช้คำและรูปประโยคที่ต่างไปจากเดิม

 

3

เรียนรู้การใช้คำ สำนวน วลี รูปแบบประโยคให้สละสลวยและเป็นธรรมชาติ การจะใช้ภาษาได้อย่างสวยงามนั้นต้องอาศัยประสบการณ์สูง ความเหมาะสมของภาษานั้นไม่มีหลักเกณฑ์ถูกผิดตายตัวเหมือนการใช้ไวยากรณ์ ในขั้นนี้เราจะชี้จุดที่เห็นว่าสมควรแก้ไข เพื่อให้งานเขียนของท่านสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อธิบายเหตุผลและยกตัวอย่างวิธีแก้ไขที่เป็นไปได้ให้หลาย ๆ ตัวอย่าง เพื่อให้ท่านได้เห็นความหลากหลายของภาษาและสามารถเลือกใช้รูปแบบที่เหมาะสมได้ในโอกาสต่อ ๆ ไป

ท่านจะมีโอกาสได้เรียบเรียงงานเขียนของท่านใหม่ โดยอาศัยข้อมูลและคำอธิบายทั้งหมดที่เราให้ไป ณ จุดนี้ท่านได้ขัดเกลางานเขียนของท่านให้เป็นงานที่สมบูรณ์ ไม่มีข้อผิดพลาดด้านการใช้คำ ด้านไวยากรณ์ เนื้อหาลื่นไหลต่อเนื่อง การให้เหตุผลและการใช้ตัวอย่างหนักแน่นน่าเชื่อถือ สำนวนภาษาที่ใช้ก็เป็นธรรมชาติจูงใจให้คล้อยตาม

 

ตัวอย่างการใช้ภาษาที่ควรปรับปรุง เช่น

  • การใช้ภาษาพูดหรือภาษาไม่เป็นทางการในงานเขียน งานเขียนทั่ว ๆ ไปมักจัดอยู่ในลักษณะกึ่งทางการถึงเป็นทางการ ผู้เขียนจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ตัวย่อหรือคำหรือสำนวนที่ไม่เป็นทางการ จุดนี้เป็นปัญหาของหลาย ๆ คนที่ไม่ทราบว่าสำนวนภาษาแบบใดจัดเป็นแบบทางการหรือไม่เป็นทางการ: It’s my dream that one day I gonna be a successful engineer. ซึ่งอาจแก้ได้เป็น It is my ambition that one day I must become a successful engineer.

  • การใช้ศัพท์เดิมซ้ำ ๆ หลายครั้งจนทำให้งานเขียนดูน่าเบื่อและยังบอกเป็นนัยถึงความรู้ศัพท์ที่จำกัดของผู้เขียน ภาษาอังกฤษนั้นมีคำให้เลือกใช้มากมาย หลาย ๆ คำมีความหมายใกล้เคียงกันมากจนใช้แทนกันได้ คำเหล่านี้เรียกว่า synonym การรู้จักใช้ synonym อย่างเหมาะสมจะช่วยทำให้งานเขียนดูมีสีสันขึ้น แต่อย่างไรก็ตามไม่มีคำคู่ใดที่ใช้แทนกันได้อย่างสมบูรณ์ ผู้เขียนจึงจำเป็นต้องเข้าใจความของศัพท์แต่ละคำอย่างถ่องแท้

  • การใช้ tense ที่ไม่สอดคล้องกับความหมายที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ ภาษาอังกฤษมีความแตกต่างจากภาษาไทยหลายประการ ข้อสำคัญประการหนึ่งคือการมี tense ให้เลือกใช้มากมาย โดยแต่ละ tense จะสื่อความหมายทั้งโดยตรงและโดยอ้อมที่ต่างกัน ผู้ที่ใช้ tense ได้อย่างชำนาญจะสามารถสื่อความคิดออกมาได้อย่างลึกซึ้งยิ่งกว่าคนอื่น ๆ

    ตัวอย่างประโยคเช่น ผู้เขียนต้องการเล่าถึงแรงบันดาลใจที่ทำให้อยากเรียนต่อด้านธุรกิจ ซึ่งคือความคิดที่จะมีบริษัทเป็นของตนเอง: When I was a high school student, I thought of having my own company. ประโยคที่ใช้ past tense จะแฝงนัยว่าเรื่องที่พูดเป็นแค่เรื่องในอดีต ปัจจุบันไม่เป็นอย่างนั้นแล้ว สำหรับตัวอย่างนี้ผู้อ่านบางคนอาจนึกไปว่าผู้เขียนคิดจะมีบริษัทเป็นของตนเองเฉพาะตอนที่ยังเป็นนักเรียน แต่ตอนนี้เลิกคิดไปแล้ว

    หากแก้ไขประโยคนี้เป็น: I have been thinking of having my own company since I was a high school student. ซึ่งใช้ present perfect continuous tense จะสื่อว่าครุ่นคิดถึงเรื่องการมีบริษัทเป็นของตนเองมาตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบันนี้มาโดยตลอด อีกทั้งยังบอกเป็นนัยว่าจะพยายามต่อไปเรื่อย ๆ

 

จากรูปแบบการให้บริการที่ให้ท่านได้ฝึกฝนทักษะการเขียนและการปรับปรุงงานเขียนด้วยตัวเองอย่างเต็มที่ ประกอบกับการแนะนำดูแลอย่างใกล้ชิดแบบตัวต่อตัวของ KandoWriting ซึ่งสอดคล้องโดยตรงกับผู้เรียนแต่ละท่านอย่างแม่นยำ เราเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าจะทำให้การพัฒนาทักษะการเขียนของท่านเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว เห็นผลจริง ช่วยให้ท่านประสบความสำเร็จทั้งในการสอบ การเรียน หรือการทำงาน ดังที่ใจของท่านปรารถนา

 

Is there anything that can be helpful to us?

หากท่านมีความคิดเห็นเพิ่มเติมใด ๆ เกี่ยวกับตัวอย่างนี้ หรือสนใจใช้บริการ โปรดติดต่อ kandowriting@gmail.com

 

KandoWriting C.P. Tower 3 ติด BTS พญาไท ทางออกตรงข้าม Airport Link โทร. 099-230-4321